
ความจริงแล้วราคาที่ลดต่ำลงของ SSD ส่วนหนึ่งคือกลไกตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน เมื่อมีการผลิต SSD จำนวนมากเพื่อป้อนตลาดผู้ใช้งานทั่วไปที่ขยายตัวมากขึ้น ต้นทุนก็ต่ำลง ทำให้ราคาขายถูกลงได้ ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มของราคา SSD ลดลงแบบก้าวกระโดนชัดเจนเมื่อเทียบกับความจุที่ได้รับมากขึ้น ก็คือการมาถึงของเทคโนโลยีที่เรียกว่า QLC (Quad-Level Cell) ที่เรากำลังจะพูดถึงในครั้งนี้นั่นเอง

แม้ SSD จะมีข้อดีคือมีอัตราการอ่าน-เขียนข้อมูลที่รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหลายเท่า แต่ข้อจำกัดที่ทำให้หลายคนลังเลที่จะเปลี่ยนมาใช้คือ ”ความจุ” ที่โดยส่วนใหญ่มักจะมีให้เลือกระหว่าง 64-250GB โดยข้อแม้สำคัญคือพอจะจ่ายไหว เพราะ SSD ในยุคแรกๆ จะใช้เทคโนโลยีการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND Flash แบบ SLC (Single-Level Cell) ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือมีอัตราการอ่าน-เขียนได้เร็วที่สุดเพราะแต่ละเซลจะเก็บข้อมูลได้เพียง 1 บิต และสามารถบันทึกซ้ำได้มากที่สุด (P/E ประมาณ 100,000 รอบ) ซึ่ง SSD ชนิดนี้จะมีราคาแพงมาก และสงวนไว้สำหรับผู้ใช้งานระดับมืออาชีพเท่านั้น

ถัดจาก MLC เทคโนโลยี NAND ยังถูกพัฒนาต่อเป็น TLC (Triple-Level Cell) หรือสามารถเก็บข้อมูลได้ 8 บิต/เซล โดย SSD ที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะเน้นเรื่องความประหยัด เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป ในขณะที่รวามเร็วในการอ่านเขียนอยู่ในระดับพอใช้ (แต่ก็ยังเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ปกติอยู่ดี) แต่ก็ต้องแลกกับความสามารถในการบันทึกข้อมูลซ้ำได้เพียง 500-1,000 รอบ
แล้ว QLC ดีไหม เหมาะกับการใช้งานประเภทใด
เทคโนโลยี Quad-Level Cell (QLC) เป็นการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND แบบ 4 เลเยอร์ คือ 1 เซลเก็บข้อมูลได้ 4 บิต (0000 ถึง 1111) ดังนั้นความจุจึงเพิ่มขึ้นหลายเท่าในราคาถูกกว่าเดิมมาก ความเร็วใกล้เคียงกับ TLC แถมยังกินพลังงานน้อยลงมาเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ความจุเท่ากัน

ทั้งหมดทั้งปวง ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีดังที่กล่าวมา ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ SSD แบบ QLC จึงควรพิจารณาวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน เพราะโดยหลักการแล้วมันถูกออกแบบมาเพื่องานประเภทที่เขียนข้อมูลน้อย แต่อ่านข้อมูลมาก (Write Once, Ready Many) เช่น บริษัทหรืออุตสหกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องจัดการกับ Big Data และเคยใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนประสิทธิภาพสูงสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบ็กอัพ QLC จะเข้ามาตอบโจทย์ด้านราคาและความจุได้เป็นอย่างดี และแบบ 15K และ 10K จะได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากต้องการนำ QLC SSD มาใช้เป็นไดรฟ์หลักสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ อาจต้องพิจารณารูปแบบการใช้งานเป็นอันดับแรก หากใช้งานพื้นฐานทั่วไป ใช้งานวันละไม่กี่ชั่วโมง ไม่ลบและติดตั้งโปรแกรมใหม่บ่อยๆ QLC ก็อาจสามารถตอบโจทย์ในเรื่องประสิทธิภาพและราคาได้ และจะยิ่งเหมาะมากถ้านำไปใช้เป็นไดรฟ์เก็บข้อมูลรูปภาพ เพลง ภาพยนตร์ ฯลฯ แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานตัวยง ชอบทดลองโปรแกรมใหม่ๆ ชอบเล่นเกม ใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ ตกแต่งรูปภาพ เป็นกิจวัตร QLC ก็ไม่น่าจะใช่ตัวเลือกที่เหมาะสม
แหล่งที่มาข้อมูล www.overclockzone.com

ปัจจุบันมีผู้ผลิตชิปหน่วยความจำที่ประกาศว่าจะพัฒนา SSD แบบ QLC ออกสู่ตลาดหลายราย บริษัท ทรีบี อินเตอร์เทรด (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าไอที อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ โดยบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนจัดจําหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนํา หลากหลายแบรนด์ดัง เรามีช่องทางการจําหน่ายสินค้าทั้งหน้าร้าน และทางออนไลน์ https://www.3b.co.th/ จัดส่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ มีผลิตภัณฑ์นําสมัยที่จัดจําหน่ายแบบครบวงจร
